ตรวจสอบว่า เครื่องมือในห้องผ่าตัดชิ้นไหนใช้ หรือ ไม่ได้ใช้ ด้วย RFID

ในห้องผ่าตัดมีอุปกรณ์ เครื่องมืออยู่มากมายหลายชิ้น ซึ่งการเก็บรักษาต้องมีค่าใช้จ่าย และกำลังคน รวมถึงต้องเอาไปทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ หรือ เก็บไว้เยอะๆ ก็จะทำให้ค้นหามาใช้ยาก เพิ่มความสับสนเวลาหยิบ (หยิบผิด) หรือ แม้แต่สูญหาย จนผลกระทบไปตกอยู่กับผู้ป่วยและตัวผู้ผ่าตัดเอง

อะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี

ดังนั้นคำถามน่าสนใจคือ ทีเตรียมไว้ จริงๆ ได้ใช้ขนาดไหน? และเราต้องเตรียมขนาดไหนถึงจะเหมาะสม?

เคยมีรายงานว่า กว่า 78-87% ขอเครื่องมือในห้องผ่าตัดนั้น ไม่เคยถูกนำมาใช้เลย จึงมีความพยายามใช้ระบบการนับ และจดเข้ามา ซึ่งทำให้ลดเครื่องมือที่ต้องสำรองในห้องผ่าตัดได้กว่า 52% แต่ก็ใช้แรงไม่น้อย ไม่ว่าคนจด หรือ เพิ่มขั้นตอนการทำงาน จนไปกระทบการผ่าตัดอีก

มหาวิทยาลัย Duke จึงมีแนวคิดที่จะประเมินการใช้งานตรงนี้ ว่าแพทย์ใช้เครื่องมืออะไรบ้าง โดยใช้ตัวส่งสัญญาณวิทยุ (RFID) มัดติดโดยเทปพิเศษ กับเครื่องมือผ่าตัดดังรูป (ได้รับการฆ่าเชื้อตามขั้นตอนปกติ)

หลังจากนั้น จะมีเสารับสัญญาณบริเวณเตียงผ่าตัด ที่จะทำการแยกว่า มีเครื่องมือไหน ได้รับการใช้งานบ้าง และใช้เป็นเวลานานขนาดไหน โดยจะได้รับการตรวจสอบและยืนยันโดยศัลยแพทย์ก่อน และข้อมูลนี้จะถูกนำไปปรับปรุงการจัดการเครื่องมือผ่าตัดของโรงพยาบาลต่อไป

ตัวอย่างในรูปด้านล่าง เป็นการใช้เครื่องมือระหว่างการผ่าตัดก้อนเนื้อเต้านม ซึ่งจะเห็นได้หมดว่า เครื่องมือชนิดไหน ถูกใช้ในชวงไหนของกาาผ่าตัดบ้าง (ุจุดสีน้ำเงิน)

จากการทดสอบในการผ่าตัดหลากหลายประเภท เช่น การผ่าตัดเต้านม กระดูและข้อ และการผ่าตัดสมอง พบว่าไม่ได้มีผลต่อการผ่าตัดของแพทย์ ไม่มีผลต่อการติดเชื้อในการผ่าตัด และพบว่า เครื่องมือผ่าตัด 43.8% – 59.7% จากที่เตรียมไว้ มีการใช้งาน

ทีมงานจึงได้ทำการปรับลดปริมาณการใช้เครื่องมือลง 50.8% และทดสอบติดตามในการผ่าตัดครั้งต่อไป ซึ่งพบว่า ระบบไม่ตรวจพบการใช้เครื่องมือที่สูญเปล่าเลย หรือ พูดอีกอย่างว่า “เครื่องมือที่มีการเตรียมไว้ ได้รับการใช้งานทั้งหมด”

นอกจากนั้น ยังมีผลต่อการเตรียมผ่าตัดด้วย เช่น เวลาที่ใช้ในการเตรียมเครื่องมือของการผ่าตัดเต้านม ลดลงจาก 23 นาที ลงเหลือ 17 นาที ภายหลังปรับปริมาณเครื่องมือ และยังไม่นับค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากการ บำรุงรักษา ลดการเสื่อมของเครื่องมือ ฯลฯ

และอาจมีผลในเรื่องของการลดความผิดพลาดของการหยิบเครื่องมือ และลดการติดเชื้อด้วย เพราะการเคลื่อนไหวโดยรวมน้อยลง

แนวคิดนี้น่าสนใจเหมือนกันครับเพราะน่าจะปรับใช้ได้ไม่ยาก และน่าจะช่วยในเรื่องปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผ่าตัดได้ อยากเห็นข้อมูลของไทยบ้างครับ 🙂

https://academic.oup.com/jamiaopen/article/5/1/ooac003/6511678?searchresult=1

Leave a comment