ผู้สูงอายุ ใช้งาน Patient Portal กันอย่างไร?

ในบางโรงพยาบาล จะมีหน้า Website ให้ผู้ป่วยเข้าไปจัดการบริการต่างๆ ของ โรงพยาบาล เช่น นัดหมายแพทย์ ดูผลตรวจ Telemedicine เป็นต้น ซึ่งในต่างประเทศจะเรียกว่า Patient Portal สำหรับที่ที่ไม่คุ้นเคย หรือ ไม่รู้ว่ามันคืออะไร สามารถดูตัวอย่าง Patient Portal จาก post เก่าได้ครับ แล้วการใช้งานในกลุ่มผู้สูงอายุ (50-80 ปี) ซึ่งมักไม่ถนัดอุปกรณ์พวกนี้ เป็นอย่างไรบ้าง? จากการสำรวจของ มหาวิทยาลัย Michigan พบว่า อีกจุดที่น่าสนใจ คือ ผู้ป่วยยังมีการใช้งาน ผสม ระหว่างการโทรศัพท์ กับ การใช้ Patient … Continue reading ผู้สูงอายุ ใช้งาน Patient Portal กันอย่างไร?

แนวคิดระบบช่วยเหลือผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง Brain-Spine Interface (BSI)

ปกติผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไขกระดูกสันหลัง มักจะเป็นอัมพาตตั้งแต่ส่วนที่ได้รับบาดเจ็บลงไป และส่วนใหญ่กลับมาเดินไม่ได้อีก แต่ปัจจุบันการรักษาเรื่องนี้คืบหน้าขึ้นเรื่อยๆ และหนึ่งในนั้นคือ อุปรณ์เชื่อมต่อ สมอง และ ไขกระดูกสันหลัง Brain-Spine-Interface หรือ BSI การทำงานคือ โดยสรุป คือ ระบบทำหน้าที่เหมือนสะพาน ข้ามบริเวณที่ติดขัดไปนั่นเองครับ โดยผู้ป่วยจะสามารถเดิน ขึ้นบันได หรือ เคลืื่อนไหวขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง และยังพบว่าเจ้า BSI นี้ยังสามารถช่วยฟื้นฟูการเดินของผู้ป่วยกลับมาบางส่วนด้วย โดยจะเห็นว่ามีการออกแบบให้ BSI สามารถนำไปใช้ที่บ้านด้วยขั้นตอนอย่างในรูป แบบ Home use ตั้งการปรับค่า การบึนทึกผลการรักษา และติดตาม ถือว่าเป็นอีกความก้าวหน้าสำคัญทางการแพทย์ และเป็นความหวังอย่างมากของผู้ป่วยกลุ่มนี้ครับ เพราะการสูญเสียความสามารถในการเดินไป กระทบต่อคนในครอบครัวเบื้องหลังไม่น้อย โดยเฉพาะถ้าเป็นตัวหลักในการหารายได้ https://www.nature.com/articles/s41586-023-06094-5 Continue reading แนวคิดระบบช่วยเหลือผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง Brain-Spine Interface (BSI)

แนวคิด Clip ติด Smartphone วัดความดันฯ by UCSF

แทบทุกท่านน่าจะเคยวัดความดันฯเวลาไปตรวจสุขภาพ หรือ ไปพบแพทย์ ตาม รพ ต่างๆ ด้วยเจ้าเครื่องแบบนี้ในรูป แต่แน่นอนว่า ตัวเครื่องก็มีราคาพอสมควร ยังต้องกดวัดเป็นครั้งๆ และไม่สะดวกนัก เพราะต้องรัดต้นแขนก่อนจะวัดได้ และใช้เวลาอยู่พอสมควร ดังนั้นทาง UCSF จึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหานี้ด้วย Clip หนีบ Smartphone จาก UCSF ตัวนี้จะเป็น Clip พลาสติกที่ต่อกับ กล้อง + Flash ด้านหลังของโทรศัพท์ เมื่อผู้ป่วยกดนิ้วระบบจะสั่งให้ ยิง Flash แล้วใช้กล้องโทรศัพท์มือถือ จับแสงสีแดงที่สะท้อนผ่าน Clip แล้วออกมาเป็นค่าความดันฯ ซึึ่งสามารถวัดได้แบบ Real-timeครับ ตัว Clip ต้นแบบสร้างจากเครื่องพิมพ์ … Continue reading แนวคิด Clip ติด Smartphone วัดความดันฯ by UCSF

ลักษณะของผู้พัฒนาระบบในโรงพยาบาล

เวลาจ้าง บริษัท ผู้พัฒนา มาทำระบบให้ โรงพยาบาล หรือ หน่วยงานด้านการแพทย์ จากประสบการณ์พบว่า มี 3 ประเภทใหญ่ๆ 1. ออกทะเล แบบเกินเยียวยา พวกนี้มาถึงจะพูดแต่เรื่องเทคนิคที่ไม่เกี่ยวกับหน้างาน และมี keywords เช่น HL7 FHIR, ChatGPT พอเป็นพิธี กลุ่มนี้ดูไม่ยากครับ ลองให้เขาไล่ process การทำงานของ รพ ตอนนี้ และบอกว่าระบบจะตอบสนองอย่างไร โดยไม่ใช้ศัพท์ทางเทคนิค ก็จะเริ่มเห็น พอโยนโจทย์ข้อจำกัดหน้างานไป มักจะได้ solution ที่ลงหน้างานไม่ได้จริงออกมา ไม่ก็ไม่ยอมหาจุดตรงกลาง และพยายามวกกลับไปเรื่องเทคนิคยากๆ ตลอด หลายๆ ระบบที่ตั้งทิ้งไว้ตาม … Continue reading ลักษณะของผู้พัฒนาระบบในโรงพยาบาล

Johns Hopkins All Children’s Hospital “The Kissing Corner”

มุมส่งผู้ป่วยเด็ก ก่อนเข้าห้องผ่าตัด “The Kissing Corner” ณ โรงพยาบาลเด็ก Johns Hopkins All Children’s Hospital ทุกครั้งก่อนผู้ป่วยจะเข้าไปยังห้องผ่าตัด เตียงผู้ป่วยจะมาหยุดอยู่ที่มุมด้านหน้า เพื่อให้ พ่อแม ของเด็ก มาพบลูก เพื่ออวยพรให้การผ่าตัดสำเร็จด้วยดี ก่อนที่เจ้าตัวน้อยจะยิ้มรับ และถูกเข็นเข้าไปในห้องผ่าตัด มุมเล็กๆ หน้าห้องผ่าตัดนี้ ทางโรงพยาบาลเอง ก็ไม่รู้ว่ามันมีขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่นอกจากจะลดความกลัวของเด็กแล้ว พ่อแม่เด็กเอง ก็สบายใจ เพราะได้อยู่กับลูกจนถึงช่วงก่อนเริ่มผ่าตัด ก็เลยมีมุมนี้มาถึงปัจจุบัน บางเรื่องไม่ได้ซ้บซ้อน แต่ส่งผลมหาศาลครับ https://www.hopkinsallchildrens.org/ACH-News/General-News/The-Kissing-Corner Continue reading Johns Hopkins All Children’s Hospital “The Kissing Corner”

รพ โดน Ransomware เรีกค่าไถ่ข้อมูลผู้ป่วย กันบ่อยขนาดไหนใน US?

รพ โดน Ransomware เรียกค่าไถ่ข้อมูลผู้ป่วย กันบ่อยขนาดไหนใน US? ตอบ 374 ครั้ง ระหว่างปี 2016-2015 รวมข้อมูลโดนเรียกค่าไถ่กว่า 42 ล้านคน – เป้าหมายเป็น สถานพยาบาลขนาดใหญ่ เช่น รพ ใหญ่ๆ มากขึ้น – ข้อมูลโดนเข้ารหัสจำนวน มากขึ้น – กู้ข้อมูลกลับคืนมา สำเร็จน้อยลง – มีผลกระทบต่อผ้ป่วย เช่น การยกเลิกนัด, ได้รับการรักษาช้าลง มากขึ้น แต่ รพ กลับรายงานการโดน Ransomware ช้าลง (จุดสีส้ม เยอะขึ้น) … Continue reading รพ โดน Ransomware เรีกค่าไถ่ข้อมูลผู้ป่วย กันบ่อยขนาดไหนใน US?

แนวคิดการใช้ AI/Deep Learning เพื่อระบุเชื้อโรคดื้อยา

แนวคิดการใช้ AI/Deep Learning เพื่อระบุเชื้อโรคดื้อยา โดยระบบจะวิเคราะห์จากรูปวงสีขาวเส้นประ (รูป A) ถ้าวงเล็ก แสดงว่าเชื้อดื้อยา ถ้า วงใหญ่ แสดงว่ายายังใช้ได้ (Antibiogram) แล้วแสดงผลออกมาว่า เชื้อตัวนี้ ยังใช้ยาตัวไหนรักษาได้บ้าง (รูป C) ครับ ส่วนรูป B จะพิเศษหน่อย เพราะระบบจะดูว่ามีการดื้อยา สีเขียวๆ ทั้ง 3 ตัวไหม เพราะจะจัดเป็นกลุ่มเชื้อดื้อแบบพิเศษ ที่แพทย์เรารู้จักกันในชื่อ ESBL ครับ อันนี้แสดงการทำงานของตัวระบบครับ คือ จะใช้ neural Network ในการระบุชนิดยาฆ่าเชื้อ และ วัดรัศมี (3) … Continue reading แนวคิดการใช้ AI/Deep Learning เพื่อระบุเชื้อโรคดื้อยา

อุปกรณ์ช่วยหาเส้นเลือด Flex Vein Viewer

ใครที่เคยไปโรงพยาบาล จะต้องเคยเจาะเลือดตรวจนู่นตรวจนี่ กันบ้างอยู่แล้ว รวมถึงคนที่ไปบริจาคเลือดด้วย แต่การจะเจาะนี่ บางคนจะหาเส้นยาก ก็จะต้องเจ็บตัวกันนิดนึง แต่ก็มีเครื่องมือช่วยหาเส้นเลือดสำหรับช่วยงานนี้ กันหลายตั หนึ่งในนั้น คือ Flex Vein Viewer หลักการ คือ เวลากดปุ่ม มันจะฉายแสงลงไปบนตัวผู้ป่วย เพื่อให้คุณพยาบาลทำงานได้สะดวกอย่างในรูปครับ ซึ่งตัวะรบบ สามารถปรับรูปแบบการฉายแสงให้เหมาะกับการทำงาน มี 5 แบบ อย่างในรูป หรือจะเอามาตั้งไว้ข้างเตียงผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วยในก็ได้ครับ ถ้าอุปกรณ์นี้แพร่หลาย หลายๆ ท่านน่าจะเจ็บตัวจากการเจาะเลือดลดลงครับ 🙂 https://www.hospitalmanagement.net/products/vein-viewer-flex/ Continue reading อุปกรณ์ช่วยหาเส้นเลือด Flex Vein Viewer

หมอ X-ray ใช้ AI แล้วเป็นอย่างไรบ้าง?

หมอ X-ray ใช้ AI แล้วเป็นอย่างไรบ้าง? พบว่าใช้ AI แล้วเวลาการอ่าน X-ray วินิจฉัยโรค ลดลง 10-30% โดยรวม พบว่า แพทย์จะเสียเวลาน้อยลงกับ X-ray ที่ปกติ ทำให้มีเวลามากขึ้นเพื่อที่เอาไปอ่าน X-ray ที่ AI ฟ้องว่ามีความผิดปกติ โดยจากในรูปจะเห็นว่า แพทย์ใช้เวลาน้อยลงมาก กับ X-ray ปกติ ในขณะที่ใช้เวลามากขึ้นกับ X-ray ผิดปกติ เมื่อใช้ AI ดังนั้นเป็นอีกหนึ่งข้อมูลว่า AI ช่วยทำให้หมอ X-ray ใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ https://www.nature.com/articles/s41746-023-00829-4#Fig2 Continue reading หมอ X-ray ใช้ AI แล้วเป็นอย่างไรบ้าง?

Heatmap การตอบสนองของร่างกาย และ อารมณ์

ตอนโกรธจะ “หัวร้อน” ตอนอาย จะร้อนที่แก้ม ตอนเครียด จะมือเท้าย็น เชื่อว่าหลายท่านคงเคยเป็นครับ ซึ่งเป็นจากที่ร่างกายเรามีการตอบสนองต่ออารมณ์ต่างๆ เลยมีการสำรวจในแต่ละอารมณ์ ว่าร่างกายส่วนไหนจะตอบสนองอย่างไร ออกมาเป็นในรูป – ความโกรธ จะรู้สึกรุนแรงทีช่วงบนเป็นหลัก– ความสุข จะรู้สึกไปทั้งตัว– ความเศร้า จะมือเท้าเย็น และรู้สึกร้อนแน่ๆ ในอก– ความเครียด จะมือเท้าเย็น อารมณ์อื่นๆ ก็เป็นอย่างในรูปครับ แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงระหว่างอารมณ์และร่างกายคนเรา Bodily maps of emotionshttps://www.pnas.org/doi/pdf/10.1073/pnas.1321664111 Continue reading Heatmap การตอบสนองของร่างกาย และ อารมณ์