การตรวจผู้ป่วยนอก (OPD) ด้วยระบบ Cerner -3 คำปรึกษาผู้ป่วย และตัวช่วย

มาต่อกันตอนที่ 3 ในเรื่องของการลงเวชระเบียนผู้ป่วยสำหรับการตรวจทั่วไป (OPD) ของระบบ Cerner ในส่วนที่เหลือจะไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าสองตอนแรก ดังนั้นถือว่าพาดูรูปแบบการทำงาน และ feature คร่าวๆ ของระบบให้เป็นไอเดียละกันครับ

ให้คำปรึกษาผู้ป่วย

ใช่ครับ เราต้องบันทึกในส่วนนี้ให้เป็นเรื่องเป็นราวด้วย ซึ่งจะต่างจากไทย ที่จะใช้การเขียนเพิ่มลงไปในประวัติผู้ป่วยแบบสั้นๆ แต่ระบบนี้ จะเห็นว่า มีหน้าจอให้บันทึกเฉพาะเลย ในส่วน Patient Education ซึ่งระบบจะเลือกใส่เข้ามาให้โดยอัตโนมัติตาม ปัญหา/ โรคของผู้ป่วยที่เราใส่ไว้ก่อนหน้านี้ เช่น เบาเหวาน เจ็บคอ ก็จะมีข้อมูลรอไว้ให้เลย ไม่ต้องพิมพ์เองทั้งหมด

ทีนี้ หลายยท่านจะเห็นเจ้าตัว Check-out ในรูปว่ามันคืออะไร มันคือ ตัวบอกว่า แพทย์ทำงาน+กรอกเอกสารครบหรือยังครับ

พอกรอกครบก็จะเป็นแบบนี้

เป้าหมายในการรักษาสุขภาพ

เวลาไปพบแพทย์ เราน่าจะได้ยินแพทย์คุยกับผู้ป่วยบ่อยๆ ใช่ไหมครับว่า ต้องคุมน้ำตาล หรือ ความดันให้ไม่เกินเท่าไหร่ ซึ่งก็คือส่วนนี้ล่ะครับ ที่เขียนว่า Patient Goals ซึ่งเราสามารถกดเพิ่มเข้าไปได้

Lab /X-ray

ระบบ Cerner จะเก็บข้อมูลไว้เป็นตาราง โดย แต่ละ Column จะแสดงวันทีตรวจซึ่งเราสามารถเลือกช่วงวันที่ต้องการ (Filter) ดูเฉพาะเท่าที่ต้องการได้ โดยระบบมีปุ่มลัด 1, 3, 18 เดือน กับ 3 ปี ย้อนหลังให้

วัคซีน (Immunizations)

เป็นหน้าจอแสดงวัคซีนที่ได้ฉีดแล้ว + วันที่ฉีด ซึ่งจริงๆ เรามักสนใจแต่ในเด็ก แต่ผู้ใหญ่เองก็มีวัคซีนที่ฉีดได้เหมือนกันนะครับ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงในไทย และมักถูกลืมบ่อยๆ แพทย์เราเองก็เลยพึ่งการดูการฉีดวัคซีนจากเอกสารกระดาษ หรือ บันทึกใส่ไว้ในเวชระเบียนมากกว่า แต่ฝั่งนี้จะสร้างตารางแยกไว้ให้เห็นชัดๆ เลย

การสั่งการรักษา และสร้าง Form

มาจนถึงตอนนี้ หลายๆ คนน่าจะเริ่มมึน เพราะมีการสั่งการรักษา กับ Form นู่นนี่เยอะแยะไปหมด จริงๆ เราไม่ได้มานั่งพิมพ์หมด แต่ระบบจะเตรียมไว้ให้ส่วนหนึ่ง ซึ่งแพทย์ เลือกว่าจะเอาอะไรบ้าง โดยไปที่ Menu ซึ่งระบบเตรียมไว้ให้ แล้วเราก็กด เลือกๆ ว่าจะทำอะไรบ้าง แล้วตัวระบบก็จะเตรียมไว้ให้เสร็จส่วนหนึ่ง (มีเยอะมาก)

อย่างในรูป แพทย์จะใช้วิธีคลิกเลือก สิ่งที่เราจะทำให้ผู้ป่วยได้ทีละหลายๆ ตัวดังรูป

สรุปการพบแพทย์ให้ผู้ป่วย (Visit summary)

ปกติก่อนเสร็จ แพทย์จะก็จะบอกผู้ป่วยว่ากลับไปบ้านต้องทำ 1 2 3 4 ใช่ไหมครับ แต่ในไทยสิ่งที่เราเห็นบ่อยๆ คือ ผู้ป่วยลืม ซึ่งฝรั่งก็เป็นเหมือนกัน เลยมีการออกใบสรุปว่า การพบแพทย์คราวนี้ เราทำอะไรบ้าง และจะต้องทำอะไรบ้าง ที่เรียกว่า Visit summary ซึ่งระบบ HIS/EHR ของ US ทุกเจ้าจะมีระบบการสร้างเตรียมไว้ให้เรียบร้อย

ของ Cerner ก็จะเป็นแบบนี้ ที่เราสามารถเลือกติ๊กถูก ได้ว่าจะเอา ไม่เอาอะไรบ้าง และเขียนเพิ่มได้

การวินิจฉัย

เวลาตรวจผู้ป่วย หลายๆ ครั้งเราก็แอบบค้นข้อมูลทางการแพทย์เพื่อสั่งการรักษา อย่าง Up-to-date ใช่ไหมครับ ของระบบ Cerner จะมีระบบสนับสนุนแบบนี้มาในตัวชื่อว่า VisualDx

ซึ่งการมีระบบติดมาในตัวคือ เวลาเรากดใช้ มันจะยิงส่งข้อมูลผู้ป่วยเข้าไปให้เลย ไม่ต้องมานั่งพิมพ์ข้อมูลใหม่ คือ กดปุ่่มเสร็จ มันจะขึ้นคำแนะนำของผู้ป่วยรายนั้นๆ มาให้ทันที

สำหรับผู้ป่วยเด็ก ก็จะมีกราฟเปรียบเทียบการเจริญเติบโต เช่น น้ำหนักส่วนสูงมาให้ในตัวด้วย

ok ค่อนข้างยาว ถือว่าปิด series ของการตรวจผู้ป่วยทั่วไปด้วยระบบ HIS/EHR Cerner ครับ จะเห็นว่ามันมีรายละเอียดเยอะ และมีส่วนที่ต้องกรอกเยอะมาก จริงๆ ของไทยเองก็ต้องทำ แต่ว่าไม่ serious เท่าของ US โดยเฉพาะ ใน รพ รัฐ ประกอบกับภาระการตรวจผู้ป่วยที่เยอะมากของไทย ใน US เอง ไม่ต้องตรวจเป็นจำนวนเยอะเท่าก็จริง แต่จะมีเรื่องพวกนีเติมเข้ามามากครับ

Completing a patient visit in Cerner Ambulatory

https://www.youtube.com/watch?v=M9C-SaCuZn4

Leave a comment